เผย..เมืองไทยก็ผลิตรถไฟฟ้า และรถพลังไฮโดรเจนขายได้แล้ว

1511338_317171968472837_5299324952838869666_n

พ.ศ. 2546 พล.อ.ท.มรกต ชาญสำรวจ อดีตเจ้ากรมสรรพาวุธ และผู้บัญชาการศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกองทัพอากาศ ผู้พัฒนา “จรวดเห่าฟ้า” อันเลื่องชื่อ เขาได้ทดลองสร้าง “รถพลังงานไฟฟ้า” ให้กับสถาบันวิจัยแห่งชาติ ด้วยเห็นถึงความจำเป็นในการใช้รถที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

10947223_317171978472836_5761381073097897704_n

อีกทั้งขณะนั้นรถไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทยมีราคาแพง เนื่องจากต้องนำเข้าจากต่างประเทศ 100% เพื่อให้เกิดการยอมรับด้านคุณภาพ ช่วงแรกๆ นั้น เขาได้ทดลองใช้ตัวถังของรถยนต์ยี่ห้อหนึ่งคันเล็กๆ จากญี่ปุ่น ประกอบเข้ากับอะไหล่คุณภาพดีจากแหล่งต่างๆ เช่น มอเตอร์ และอุปกรณ์ควบคุมความเร็ว (มาตรฐานองค์การนาซ่า) จากอเมริกา

เพลาแบบเดียวกับรถสปอร์ตจากอิตาลี ฯลฯ จนกระทั่งในปีต่อมา จึงได้ริเริ่มออกแบบและผลิตตัวถังเอง เพื่อจำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไป เป็นรถยนต์ขนาด 2 ที่นั่ง คล้ายกับรถ Mini วินเทจ แต่เมื่อผลิตออกมารถรุ่นนี้ กลับต้องเผชิญกับปัญหา เรื่องการขอจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก

เนื่องจากขณะนั้นประเทศไทย ในยุครัฐบาลคนแดนไกล เขาไม่มีวิสัยทัศน์ และถูกกลุ่มทุนรถยนต์น้ำมัน ที่นายทุนในแก็งค์ไทยไม่เคยรักไทย ต่างมีบริษัทขายรถยนต์ และอะไหล่รถยนต์ใช้น้ำมัน จึงยังไม่มีการออกกฏระเบียบเกี่ยวกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า

เพราะเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคอย่างมาก ต่อการผลิตเชิงพาณิชย์ คือ ผู้ผลิตต้องสามารถผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่ต่างๆ ได้เอง เมื่อรถรุ่นนี้ประสบกับปัญหา เขาจึงต้องคิดค้นและพัฒนารถยนต์โมเดลใหม่ขึ้นมา ที่ผลิตชิ้นส่วนเองได้ทั้งหมด เป็นรถยนต์ขนาด 4 ที่นั่งแบบเปิดประทุนได้

ตัวถังทำจากเหล็กกล้ารูปทรงสี่เหลี่ยม ออกแนวรถจิ๊บ ซึ่งถือเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าสัญชาติไทยแท้คันแรก ที่มีป้ายทะเบียน และสามารถใช้ขับขี่บนท้องถนนได้ โดยสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็ว 80 กม./ชม. อะไหล่ที่ใช้กับรถคันนี้สามารถผลิตได้เองทั้งหมด และเพิ่มอุปกรณ์ตกแต่ง เช่น แอร์ วิทยุ เครื่องเล่นซีดี ฯลฯ ปัจจุบันมีถึง 7 สี

10968566_317171955139505_6241999873073564513_n

10959868_317171941806173_4297271739987634592_n

10947212_317171931806174_9125009489868012373_n

ปัจจุบันรถไฟฟ้าเพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ของเขา เช่น รถกอล์ฟ รถรับส่งผู้โดยสารในรีสอร์ท รถเก็บขยะในโรงพยาบาล ฯลฯ ได้รับความนิยมมากเช่นกัน โดยสามารถเบียดสินค้าคู่แข่งจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ที่เป็นเจ้าตลาด ได้อย่างสบายๆ เขายังสามารถผลิตสินค้าตามออร์เดอร์ได้แบบ “tailor-made”

สามารถติดตั้งอุปกรณ์การใช้งาน ตามลักษณะภูมิประเทศ ทำให้ในปีที่ผ่านมารถไฟฟ้ารุ่นต่างๆ ของเขามียอดสั่งจองสูงถึง 400,000 คัน ในขณะที่กำลังการผลิตในเขตกรุงเทพฯ มีเพียงแค่ 10,000 – 20,000 คันเท่านั้น รถไฟฟ้าของเขา สามารถวิ่งบนทางเรียบ ขึ้นเขา ในสนามกอล์ฟ บนถนนลูกรัง ฯลฯ

เขาต้องการการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย โดยติดป้าย “ Made in Thailand “ บนตัวรถทุกคัน เพราะมั่นใจในคุณภาพ ตอนนี้เขายังได้พัฒนารถยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อมก้าวล้ำหน้าไปอีกขั้น กับซูเปอร์อิเล็คทริคคาร์ เป็นรถยนต์ “พลังไฮโดรเจน” ที่ใช้นวัตกรรมล้ำยุคยิ่งกว่ารถไฟฟ้าระบบชาร์จไฟเสียอีก

ซูเปอร์อิเล็คทริคคาร์ นี้ เป็นรถไฮบริดผสม ระหว่างแหล่งกำเนิดพลังงานที่เรียกว่า Fuel Cell กับชุดอุปกรณ์ทำความเย็น Hercules มีหลักการทำงานคือ Fuel Cell ทำหน้าที่แปลง พลังงานเคมี ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยปฏิกิริยาระหว่างก๊าซเชื้อเพลิง (ไฮโดรเจน) กับก๊าซอ๊อกซิไดซ์ (ออกซิเจน)

เมื่อก๊าซไฮโดรเจนผ่านช่องทางเข้า ก็จะเกิดการออกซิเดชั่น ที่ชุดประกอบขั้วไฟฟ้าแบบแผ่นเยื่อ (Membrane Electrode Assembly) ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปตามตัวนำไฟฟ้าและทำให้เกิดโปรตอน ขึ้น โปรตอนเหล่านี้จะเคลื่อนผ่านแผ่นเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตอน และเกิดปฏิกิริยารีดักชั่น

ซึ่งในขั้นตอนนี้ ตัวเร่งปฏิกิริยาจะช่วยในการรวมตัวกับออกซิเจนที่ผ่านเข้ามาจนเกิดเป็น “น้ำ” ที่มีความบริสุทธิ์ระดับดื่มได้ ดังนั้นเมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ทั่วไปแล้ว แหล่งกำเนิดพลังงานแบบ Fuel Cell จึงไม่เหลือของเสีย ที่สร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมเลย ที่สำคัญเซลล์เชื้อเพลิงยังเป็นอุปกรณ์ให้พลังงาน ที่ไม่มีการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วน จึงไม่ก่อให้เกิดเสียงดังในขณะเครื่องกำลังทำงานอีกด้วย

ของต่างประเทศนั้น บริษัทผู้ผลิตรถยนต์จะนำออกมาโปรโมททำการตลาด ในรูปแบบรถพลังงานไฮโดรเจน ซึ่งผู้บริโภคต้องศึกษาหลักการทำงานให้ดีก่อน เพราะอาจเป็นรถไฮโดรเจนแบบ “แอบแฝง” คือ ใช้วิธีเติมไฮโดรเจนเข้าไปในกระบอกสูบโดยตรง แต่ความจริงรถก็ยังใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงอยู่ดี ซึ่งก็ยังคงก่อให้เกิดมลพิษ

แต่ของคนไทยนี้ จะเป็น Fuel Cell แบบเต็มรูปแบบ เพราะเขามีห้องทดลองและอุปกรณ์ทำ Fuel Cell ของเขาเอง รถไฮโดรเจนเหมาะกับเมืองไทยมาก เพราะไทยมีกำลังการผลิตไฮโดรเจนอย่างเหลือเฟือที่ Eastern Seaboard ที่เดียว มีไฮโดรเจนเหลือใช้ปล่อยทิ้งไปในอากาศถึงชั่วโมงละ 20 ตัน

ตอนนี้มีบริษัทแก๊สแห่งหนึ่ง ได้เสนอตัวเป็นผู้ขนส่งไฮโดรเจนเหลือทิ้งจาก Eastern Seaboard มาให้เขาแล้ว ซึ่งเขามองว่าแม้เราจะต้องเสียค่าขนส่ง แต่ก็ยังก็ดีกว่าต้องนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ อีกทั้งเขายังสามารถทำเทคโนโลยีแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำได้ (น้ำประปา 10 ลิตรราคา 1.5 สตางค์ สามารถแยกไฮโดรเจนได้ถึง 12,000 ลิตร)

ส่วน Hercules คือ อุปกรณ์ทำความเย็นอิสระ ที่ทำงานโดยไม่รบกวนการใช้พลังงานของรถ รถต่างชาติ อุปกรณ์ทำความเย็น จะใช้พลังงานจากแหล่งกำเนิดพลังงานของรถโดยตรง ทำให้เมื่อเปิดแอร์ รถจะวิ่งได้ไม่กี่ชั่วโมง แต่ Fuel Cell และ Hercules นี้ ของเขาจะช่วยให้รถสามารถเปิดแอร์วิ่งได้ตามปกติเหมือนรถยนต์ทั่วไป

แม้นอนหลับในรถก็ไม่เกิดอันตราย เพราะปราศจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงถึง 132 กม.ต่อ ชั่วโมง ให้กำลัง 88 แรงม้า ดีไซน์ปัจจุบันออกแนว eco-car ซึ่งบางทีดูแล้วไม่ค่อยเร้าใจ แต่ซูเปอร์อิเล็คทริคคาร์โฉมใหม่นี้จะออกแนว Volkswagen Scirocco

รถพลังไฮโดรเจนคันนี้ เมื่อผลิตออกมาจะมีราคาขายอยู่ที่คันละ 3-4 ล้านบาท แต่เขาวางแผนว่า จะขายเทคโนโลยีนี้ให้กับบริษัทรถยนต์ ซึ่งตอนนี้ก็มีติดต่อเข้ามาหลายรายแล้ว ราคาที่เจรจากันน่าจะอยู่ที่ราว ประมาณ 450 ล้านบาท ทำให้ไทยอาจไม่ได้เป็นผู้ผลิตรถใช้ไฮโดนเจนนี้ขายในวงกว้างทั่วโลก

บริษัท ที่ซื้อเทคโนโลยีจากเขาไป เมื่อเขาผลิตขายได้ในระดับมากๆ จะทำให้ต้นทุนการผลิตถูกลง และทำให้ราคารถถูกลงในที่สุด ประชาชนทั่วไปก็จะมีโอกาสใช้แพร่หลายมากขึ้น ในระยะยาวมันเป็นการสนับสนุน ให้คนหันมาใช้รถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เขาเลือกใช้กลยุทธ์ประชาสัมพันธ์สุดประหยัด แต่ได้ผลชะงัดกว่า ด้วยการ “วิ่งโชว์” โดยเขาขออนุญาตทาง กทม. จัดโชว์ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า และให้ผู้ที่สนใจสามารถทดลองขับขี่ได้ ที่ผ่านมาแค่วิ่งโชว์รอบเดียว ก็มียอดออร์เดอร์เป็นพันคันแล้ว จากนั้นเขาก็ขยายพื้นที่ในการวิ่งโชว์ออกไป เช่น ไปบริเวณสวนลุมฯ ถนนพระราม 4 ในช่วงวันหยุด ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากสื่อและประชาชนเป็นอย่างดี

สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดเด่นของเขาคือ ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการ “ไม่ลงทุนด้วยเงินกู้” เพราะเขาเป็น SME จึงมองว่าไม่ควรกู้เงินจำนวนมหาศาลมาลงทุน เพราะจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ ดอกเบี้ย ที่เดินตลอด แต่การผลิตยังไม่ออก

ทำให้เสียสมาธิในการทำงาน และไม่เสริมสร้างให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้นเขาจึงเน้นการเก็บหอมรอมริบมากกว่า เมื่อสายป่านยาวพอแล้วค่อยลงทุนด้วยเงินของตัวเอง เขามองว่า “ดอกเบี้ยคือตัวบ่อนทำลายความคิดสร้างสรรค์”

รถยนต์พลังงานสีเขียวสัญชาติไทยไปไกลสุดกู่ เรียกว่าขึ้นแท่น “สุดยอดยนตรกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม” ที่แม้แต่ค่ายรถยักษ์ใหญ่จากยุโรปยังต้องมาขอซื้อเทคโนโลยีไปแล้ว

หากนายทุนไทยคนใด คิดจะผลิตรถพลังไฮโดรเจนในเชิงอุตสาหกรรม แล้วส่งออกในนาม “ Made in Thailand “ ก็ลองคุยกับเขาผู้นี้ ก่อนที่จะเสียเทคโนโลยีนี้ให้กับต่างชาติไป

ที่มา :  http://www.facebook.com/topsecretthai

[sc:720x90yengo]

49627 เยียมชมหน้านี้ทั้งหมด 1 ผู้เยี่ยมชมวันนี้