โซลาเซลล์ลอยน้ำ….ลาก่อนนิวเคลียร์

05054-hexifloat-nighttif_b102f6185b-640x363

โซลาเซลล์ที่พวกเรารู้จักก็คงไม่พ้นโซลาเซลล์บนหลังคาบ้านที่เป็นแผ่นเล็กๆเอาไว้ใช้ทำน้ำอุ่นใช่ไหมคะ? หรือเท่าที่เคยเห็นแผงโซลาเซลล์บนหลังคาส่วนมากจะเอาไว้ใช้กับบ้านเรือนที่ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง ทำให้พวกเรามองพลังงานชนิดนี้ว่าเป็น ‘พลังงานทดแทน’ แต่ตอนนี้ญี่ปุ่นเขาได้ก้าวไปไกลกว่านั้นแล้วละค่ะ!! ก็พลังงานทดแทนที่ว่ากำลังจะถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นพลังงานหลัก เป้าหมายของแผนการนั้นก็คือ ‘ระบบโซลาเซลล์ลอยน้ำ‘ นั่นเอง ก็เพราะอุบัติเหตุจากการระเบิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครั้งที่แล้วได้สร้างปัญหาระยะยาวอย่างไม่จบสิ้น ทำให้ตอนนี้ที่ญี่ปุ่นได้ การวางแผนพัฒนาใช้พลังงานสะอาดที่ปลอดภัยอย่างโซลาเซลล์ เข้ามาแทน โดยมีการวางแผนอย่างจริงจังที่ไม่เคยมีมาก่อน ขนาดที่ว่าจะไปตั้งแผงโซลาเซลล์กันที่ดวงจันทร์เลยทีเดียว

shimizu_3
http://www.xn--12cmaam3eno6bybj3a2e7ak2dmhe5b1u9a3ktd.com/?p=1124

FloatingSolarPower-800x449

เป็นที่รู้กันว่าญี่ปุ่นมีพื้นที่ใช้สอยน้อยซึ่งก็เต็มไปด้วยตึกราบ้านช่องกันหมดแล้ว ยอมไม่มีที่ว่างเหลือให้โซลาเซลล์แผงใหญ่ๆเป็นแน่ แต่จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเราสามารถวางแผนโซลาเซลล์บนผิวน้ำที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นทะเลสาบหรือผิวน้ำที่ริมทะเลแต่ไม่รวมเขตท่องเที่ยว ซึ่งโดยมากจะใช้ผืนน้ำในบริเวณเกษตรกรรมกัน

เทคโนโลยีบนผิวน้ำแต่เดิมได้รับการสนันสนุนจาก EDF Group (The Education for Development Foundation) ของฝรั่งเศส โดยการสร้างโซลาเซลล์ลอยน้ำนั้นไม่ได้เพียงแค่ประหยัดพื้นที่เท่านั้น แต่ยังสามารถทำให้โซลาเซลล์ไม่ร้อนจนเกินไปด้วยเพราะมีน้ำจำนวนมหาศาลที่คอยระบายความร้อนให้ตลอดเวลา ซึ่งจะต่างจากโซลาเซลล์ทั่วไปที่พออยู่บนหลังคาบ้านแล้ว โดนแดดเผาทั้งวัน ทำให้เสื่อมสภาพและมีอายุการใช้งานที่น้อยลงอีกด้วย

floating

3333

ในตอนนี้ญี่ปุ่นได้หันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยกราฟด้านล่างจะแสดงให้เห็นถึงปริมาณของเทคโนโลยีโซลาเซลล์ (PV = Solar Photovoltaic) ที่ถูกติดตั้งในแต่ละปีว่า มีการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดอย่างน่าตกใจ

body-2-1383835864770

อาจสงสัยว่าถ้าเราทำโซลาเซลล์ขนาดยักษ์ในทะเลแล้วจะไม่มีผลกระทบต่อสัตว์น้ำเหรอ? ซึ่งตอนนี้ทางผู้พัฒนาเทคโนโลยีนี้ได้กล่าวว่า วัสดุที่นำมาใช้ในการทำแผงโซลาเซลล์ ทำให้แผงโซลาเซลล์ลอยน้ำมีคุณสมบัติที่ยอมให้ก๊าซออกซิเจนผ่านได้ จึ่งไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำมากนัก

05054-Sunflowertif_96d5640e3a-800x585

ที่มา : anngle.org

[sc:720x90yengo]

3891 เยียมชมหน้านี้ทั้งหมด 2 ผู้เยี่ยมชมวันนี้