กระทรวงพลังงานเปิดโครงการโซลาร์รูฟท็อปภาคประชาชน ปี 2562 พร้อมรับซื้อคืน 1.6-1.8 บาทต่อหน่วย

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เตรียมเปิดชี้แจงรายละเอียดโครงการโซลาร์รูฟท็อปภาคประชาชนนำร่อง ปีละ 100 เมกะวัตต์ 10 ปี เริ่มลงทะเบียน 1 พ.ค. 62 นี้ เผยอัตรารับซื้อไฟฟ้าเบื้องต้น 1.6 -1.8 บาทต่อหน่วย

1-13

    เมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงโครงการโซลาร์ภาคประชาชนของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ว่า ได้กำหนดหลักการนำร่อง โดยจะรับจดทะเบียนเจ้าของบ้านและอาคารที่เป็นเจ้าของมิเตอร์ ประเภทบ้านที่อยู่อาศัยที่ต้องการติดตั้งแผงเซลล์ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้เองเชื่อมกับระบบไฟฟ้าของประเทศ

กำหนดให้บ้านพักอาศัย ติดตั้งระบบได้ไม่เกิน 3-10 กิโลวัตต์
งบประมาณจะ-ขึ้นอยู่กับขนาดการติดตั้ง
ตั้งแต่หลักหมื่น-หลักแสน

Solar-roofing-1

และขายผลผลิตไฟฟ้าส่วนเกินความต้องการใช้เข้าสู่ระบบได้ในขนาดการติดตั้งประมาณ 100 เมกะวัตต์ต่อปี เป็นระยะเวลา 10 ปี โดยจะเริ่มรับจดทะเบียนได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป

ขณะเดียวกันรัฐบาลจะออกมาตรการสนับสนุนให้ผู้ผลิตแผงโซลาเซลล์และผู้ประกอบการติดตั้งระบบในประเทศและสถาบันอาชีวศึกษาให้มีส่วนร่วมในธุรกิจการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบ คาดว่าแต่ละปีจะมีการติดตั้งประมาณ 10,000-20,000 ระบบ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 4,000 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 40,000 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาโครงการ 10 ปี

7-104

นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานกรรมการ กกพ.กล่าวเพิ่มเติมว่า หลักการทำงานของโซลาร์รูฟภาคประชาชนบ้านอยู่อาศัย คือ เวลากลางวันไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์รูฟจะไหลเข้าตู้ไฟฟ้าบ้านผสมกับไฟฟ้าที่ซื้อจากการไฟฟ้า

โดยที่ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์รูฟจะถูกนำไปใช้ก่อน หากไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์รูฟมีค่าน้อยกว่าการไฟฟ้าในบ้าน บ้านจะซื้อไฟฟ้าส่วนที่ไม่พอจากการไฟฟ้าเข้ามาเติม หากไฟฟ้าที่ผลิตได้จากการโซลาร์รูฟมีค่ามากกว่าการใช้ไฟฟ้าในบ้าน

บ้านจะขายไฟฟ้าส่วนที่เกินให้แก่ไฟฟ้าในราคาหน่วยละ 1.68 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้ มิเตอร์จะอ่านและบันทึกค่าการไหลของไฟฟ้าได้ 2 ทิศทางคือ

ไฟฟ้าที่ซื้อจากการไฟฟ้า และไฟฟ้าที่ขายให้แก่การไฟฟ้า ขณะที่บิลค่าไฟจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนที่ซื้อไฟฟ้า และ ส่วนที่ขายไฟฟ้า โดย กกพ.ยืนยันจะทำโครงการนี้ให้โปร่งใสและยุติธรรมที่สุด

สนใจโครงการ ติดต่อที่ไลน์ไอดี solardryer

ติดตั้งโซล่ารูฟท็อปปี62

หรือโทร. 087-8403169

sena01

      โซลาร์รูฟท็อป คือ ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้านที่อยู่อาศัย หรือบนอาคารต่างๆ สามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้เองภายในบ้าน อาคารหรือโรงงาน โดยแผงเซลล์แสงอาทิตย์จะรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ แล้วจ่ายเป็นไฟฟ้ากระแสตรงให้กับเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าชนิดเชื่อมต่อกับสายส่ง แล้วแปลงไฟกระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับก็จะได้กระแสไฟฟ้าที่พร้อมใช้งานให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ทีวี พัดลม ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ

       ข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ชี้ใช้เห็นว่า โซลาร์รูฟท็อป มีความคุ้มค่า ช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ 1 ใน 3 ของค่าไฟฟ้าต่อโรงงาน 1 แห่ง เพราะโรงงานจะผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ในช่วง On Peak ที่เป็นช่วงที่ค่าไฟฟ้ามีราคาสูง (อัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาของการใช้ หรือ TOU Rate ราคาจะสูงกว่าในช่วง Peak หรือ 09.00 – 22.00 น.) ซึ่งจะลดการใช้ไฟฟ้าจากระบบไปได้ 

       อย่างไรก็ตาม แม้ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าสูง แต่ปัจจุบันสัดส่วนของไฟฟ้าที่ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ยังมีไม่มากนัก โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากโซลาร์รูฟท็อปที่มีเพียง 6% ของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมด

      ด้าน ดร.วิชสินี วิบุลผลประเสริฐ นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ให้ความเห็นว่า โซลาร์รูฟท็อปมีต้นทุนลดต่ำลง จึงมีผู้ติดตั้งมากขึ้น ทว่าขณะนี้ประเทศไทยสัดส่วนของผู้ติดตั้งยังไม่มาก โดยยังไม่ถึงร้อยละ 1 ของความต้องการไฟฟ้าจนส่งผลกระทบต่อราคาค่าไฟฟ้าจนต้องมีการเก็บค่าไฟฟ้าสำรอง หรือการเพิ่มขึ้นการลงทุนในระยะสั้น ขณะที่งานวิจัยของ National Renewable EnergyLab และ Lawrence Berkeley National Lab ระบุว่า ผลกระทบต่อการไฟฟ้าและราคาไฟฟ้าจะเริ่มชัดเจนเมื่อการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อปเกิน 10% ของความต้องการไฟฟ้า หากโซลาร์รูฟท็อปเข้ามาในปริมาณมากจะเปลี่ยนรูปแบบความต้องการไฟฟ้าในแต่ละวัน โดยความต้องการช่วงกลางวันจะลดลง ขณะที่การใช้ไฟฟ้าช่วงกลางคืนเท่าเดิม ซึ่งทำให้การไฟฟ้าต้องเตรียมรับมือกับความผันผวนในระบบที่จะเกิดขึ้น โดยต้องมีโรงไฟฟ้าปรับเพิ่ม-ลดกำลังผลิตให้เพียงพอต่อการใช้งานตลอดเวลา

ท่านที่สนใจติดตั้งเอง หรือเข้าโครงการฯ
ติดต่อมาที่ไลน์ไอดี solardryer โทร. 087-8403169

ติดตั้งโซล่ารูฟท็อปปี62

สามารถเลือกแพคเกจ ที่เหมาะสมกับการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวัน ของท่าน

000

001

002

003

ด้านความคืบหน้าโครงการผลิตไฟฟ้าขยะชุมชน จ่อเปิดรายชื่อผู้ผ่านเข้าร่วมเพิ่มอีก 1 ราย ประมาณ 5 เมกะวัตต์ เร็วๆนี้   

       นางสาวนฤภัทร อมรโฆษิต เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า กกพ. เตรียมชี้แจงรายละเอียดโครงการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) ภาคประชาชน ในเดือน มี.ค. 2562 นี้ โดยจะนำร่องเปิดรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินปีละ 100 เมกะวัตต์ เป็นระยะเวลา 10 ปี ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าระยะยาว พ.ศ.2561-2580 หรือ PDP2018 ที่กำหนดให้รับซื้อรวม 10,000 เมกะวัตต์ ในช่วงปลายแผน โดยค่าไฟฟ้าเบื้องต้นจะรับซื้อในราคาประมาณ 1.6 -1.8 บาทต่อหน่วย โดยภายหลังชี้แจงโครงการดังกล่าวแล้ว กกพ.จะเปิดรับฟังความเห็นประชาชนและจะเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการในปี 2562 นี้ ต่อไป

Rooftop-Solar-Panels-from-manfredxy-on-Shutterstock1

อย่างไรก็ตาม กกพ.จะต้องหารือกับ 3 การไฟฟ้า คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)  และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เพื่อกำหนดสัดส่วนการรับซื้อไฟฟ้าจากประชาชน รวมทั้งจะต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ว่าจะให้กลุ่มผู้นำร่องผลิตไฟฟ้าโซลาร์รูฟท็อปที่เคยดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ปี 2559 สามารถเข้าร่วมโครงการได้หรือไม่ ทั้งนี้ ในปี 2562 นี้ จะไม่มีไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนอื่นๆ เข้าระบบแต่อย่างใด ทำให้ค่าไฟฟ้าที่มาจากพลังงานทดแทนยังอยู่ระดับเดิมที่ 25 สตางค์ต่อหน่วย

ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน (Energy News Center-ENC) รายงานว่า แม้ว่าจะมีการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโซลาร์รูฟท็อปนำร่องดังกล่าวในปี 2562 นี้ แต่คาดว่าจะเริ่มการผลิตและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date -COD) ได้จริงช่วงต้นปี 2563 เนื่องจากเป็นโครงการโซลาร์ภาคประชาชนครั้งแรกของประเทศไทย จึงต้องดำเนินกระบวนการให้ชัดเจนและเหมาะสม ก่อนจะเปิดรับซื้อจริงต่อไป ดังนั้น ในปีนี้ จึงจะไม่มีไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนอื่นๆ เข้าระบบเพิ่ม

ส่วนความคืบหน้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนนั้น กกพ. เตรียมประกาศรายชื่อผู้ผ่านเข้าร่วมโครงการอีก 1 ราย กำลังการผลิตประมาณ 5 เมกะวัตต์ จากเดิมที่ประกาศไปแล้ว 3 ราย

ทั้งนี้ โครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน เป็นโครงการที่อยู่ในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรับซื้อไฟฟ้าประมาณ 78 เมกะวัตต์ (MW) หรือ Quick Win Projects  ซึ่งมีบัญชีความพร้อมของโครงการ จากกระทรวงมหาดไทย 12 โครงการ 8 พื้นที่ โดย กกพ. ได้ขยายเวลารับข้อเสนอโครงการจาก 1 ธค.2560 -30 ก.ย. 2561 เป็น 1ธ.ค. 2560 – 31 มี.ค.2562 โดยยืนยันว่าจะไม่มีการขยายการเปิดให้ยื่นคำร้องอีกหากไม่มายื่นก็จะตัดสิทธิ์ทันที

19420373_1389322717782055_1648331317400818746_n

นอกจากนี้ กกพ. ยังเตรียมเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) ที่ใช้เชื้อเพลิงจากขยะชุมชน ในช่วง 1-2 เดือนนี้ เบื้องต้นมีราคารับซื้ออยู่ที่ 3.66 บาทต่อหน่วย เป็นเวลา 20-25 ปี เพื่อให้ครบตามเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าขยะชุมชนที่กำหนดไว้ในแผน PDP2015 เดิม 500 เมกะวัตต์ ส่วนตามแผน PDP2018  ที่มีเป้าหมายจะผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนอีก 400 เมกะวัตต์นั้น คาดว่าจะเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) โดยรายละเอียดพื้นที่ต้องรอการกำหนดหลักเกณฑ์ของกระทรวงมหาดไทยก่อน

AT-SL-R-01

สำหรับการเปิดแข่งขันรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนรายใหญ่ (IPP) ภายใต้ PDP2018  ประมาณ 8,300 เมกะวัตต์นั้น นางสาวนฤภัทรชี้แจงว่า จะต้องรอนโยบายจากกระทรวงพลังงานให้ชัดเจนก่อน แต่ระยะเร่งด่วนที่ได้รับมอบหมายคือการเปิดประมูลในส่วนของพื้นที่ภาคตะวันตก เพื่อรองรับการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปี 2567-2568  จำนวน 700 เมกะวัตต์ จำนวน 2 โรง

 

ที่มาของข่าว : kaset1009.com  , กกพ. และ bltbangkok.com

4076 เยียมชมหน้านี้ทั้งหมด 2 ผู้เยี่ยมชมวันนี้