ประหยัดค่าไฟกับ Solargaps ม่านโซล่าเซลล์ ที่จะเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าในบ้าน

ล่าสุดนี้บริษัทสัญชาติยูเครนได้คิดค้นประดิษฐ์ solargaps แผงม่านหน้าต่างโซล่าเซลล์ขึ้น โดยจะหมุนตามทิศทางของดวงอาทิตย์อัตโนมัติสำหรับรับแสง เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าใช้สอยในบ้าน ควบคุมการทำงานง่ายผ่านระบบสมาร์ทโฟน ช่วยประหยัดค่าไฟมากกว่าเดิม 70 เปอร์เซ็นต์

แม้ว่าพลังงานแสงอาทิตย์ จะเป็นอีกหนึ่งแหล่งพลังงานสะอาดที่ได้รับความนิยมขณะนี้ แต่กระนั้นแผงโซล่าเซลล์นั้นมีราคาค่อนข้างแพง ยากต่อการติดตั้ง และมีเงื่อนไขใช้งานที่ค่อนข้างซับซ้อน และหากพักอาศัยอพาร์ทเม้นท์ก็จะไม่มีพื้นที่หลังคาให้ติดตั้งใช้งาน ด้วยเหตุนี้เอง ทางบริษัทจากประเทศยูเครน จึงได้คิดค้นสร้างแผงม่านโซล่าเซลล์อัจฉริยะ solargaps ขึ้น โดยทำหน้าที่เป็นได้ทั้งม่านตกแต่งหน้าต่างและแหล่งพลังงานสะอาดไปในตัว สามารถนำมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป สำหรับม่านอัจฉริยะนี้จะดูดซับแสงแดดตลอดทั้งวัน เพื่อนำไปผลิตพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้านของคุณ ซึ่งทางบริษัทผู้ผลิตเผยว่าจะช่วยลดค่าไฟภายในบ้านได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

ม่านอัจฉริยะ solargaps จะหมุนทำมุมไปตามทิศทางแสงอาทิตย์ในตลอดวันแบบอัตโนมัติ เพื่อประสิทธิภาพในการกักเก็บแสงอาทิตย์ให้ได้มากที่สุด เมื่อเทียบอัตราการให้พลังงานแล้ว แผงม่านขนาด 1 ตารางเมตรสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 100 วัตต์ และสำหรับม่านหน้าต่างปกติทั่วไปที่มีขนาดประมาณ 2 ตารางเมตร ก็จะสามารถผลิตไฟฟ้าสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์โนต์บุ๊คได้ 1 เครื่องเลยทีเดียว และถ้าหากเป็นอาคารสำนักงานใหญ่แล้ว เมื่อติดตั้งแผงม่าน solargaps ทั่วทั้งตึก ก็จะยิ่งมีความคุ้มค่ามากขึ้นไปอีกเช่นกัน

Yevgen Erik ผู้คิดค้น ม่าน solargaps ได้เผยให้ได้ทราบว่าไอเดียของเขานั้น เริ่มจากวันหนึ่งเขาได้ใช้เวลาทั้งวันอยู่ในทุ่งหญ้าแถบชานเมือง และเขาก็ได้เห็นถึงกระบวนการธรรมชาติที่ดอกทานตะวันจะหันหน้าติดตามรับแสงอาทิตย์เสมอ ประกอบกับเขาเล็งเห็นว่าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานสะอาดที่มีความคุ้มค่าด้านราคามากที่สุด จึงได้นำความคิดดังกล่าวมาประยุกต์ศึกษาวิจัยเพิ่มเติม จนเกิดความคิดในการสร้างม่าน solargaps ขึ้นมา และเขาก็ได้โชว์ศักยภาพให้เห็นผ่านการติดตั้ง solargaps ไว้ที่ตึกสำนักงานของเขาเอง

การควบคุมระบบม่าน solargaps สามารถทำได้ง่านผ่านสมาร์ทโฟน รวมถึงค่าแสดงผลการกักเก็บพลังงานจะแจ้งให้ทราบบนจอสมาร์ทโฟนด้วยเช่นกัน ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเลือกควบคุมปิดม่านเองได้อิสระหากต้องการความสลัวในห้อง และตัวแผงม่านจะหมุนกลับไปทำมุมรับแสงเองแบบอัติโนมัติเมื่อผู้ใช้งานออกจากห้องไปแล้วประมาณ 5 นาที ทั้งนี้ระบบการทำงานของตัวม่านจะต้องเสียบเข้ากับปลั๊กไฟ และต่อวงจรเข้ากับตัวแปลงพลังงานตลอดเวลา เพื่อเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะส่งต่อพลังงานไปอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ในบ้าน นอกจากนี้หากพลังงานที่รับมาในแต่ละวันคงเหลือยังสามารถกักเก็บไว้ที่แบตเตอร์รี่สำรองสำหรับนำไปใงานในภายพลังได้ด้วย

นอกจากนี้ SolarGaps ยังมาพร้อมกับจุดเด่นอีกอย่าง นั่นก็คือ สามารถหมุนไปตามทิศทางของดวงอาทิตย์เพื่อรับแสง โดย Yevgen Erik ผู้คิดค้นม่าน SolarGaps เผยว่า ได้ไอเดียดังกล่าวมาจากธรรมชาติของ ดอกทานตะวัน ที่จะหันหน้ารับแสงอาทิตย์ จึงนำไอเดียนี้ไปคิดค้นและพัฒนาจนกลายเป็น SolarGaps ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์ นอกจากจะเป็นพลังงานที่ถูกที่สุดในบรรดาพลังงานทั้งหมดแล้ว ยังมีประสิทธิภาพดีที่สุดอีกด้วย

สำหรับการควบคุม SolarGaps ม่านโซล่าเซลล์ สามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน รองรับทั้งบน Android และ iOS ซึ่งผู้ใช้สามารถควบคุมการเปิดปิดม่านได้อย่างอิสระขณะอยู่ในห้อง และตัวม่านจะหมุนกลับไปทำมุมรับแสงอาทิตย์ เมื่อผู้ใช้ออกจากห้องไปแล้ว 5 นาที โดยแอปฯ SolarGaps จะแสดงปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ที่เก็บสะสมได้ในแต่ละวันให้ทราบด้วยเช่นกัน ส่วนระบบการทำงานของ SolarGaps จะต้องเสียบกับปลั๊กไฟ และต่อวงจรเข้ากับตัวแปลงพลังงานสำหรับเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ถ้าหากพลังงานแสงอาทิตย์ที่รับมามีมากเกินพอการใช้งานในแต่ละวัน ก็สามารถเก็บไว้ที่แบตเตอรี่สำรองสำหรับใช้งานในวันถัดไปได้เช่นกัน

ไม่เพียงเท่านั้น SolarGaps ยังสามารถทำงานคู่กับอุปกรณ์แบบ IoT ได้ อย่างเช่น Google Home, Amazon Echo ด้วยการใช้คำสั่งเสียงควบคุมการทำงาน รวมไปถึง Ecobee, SmartThings, Philips Hue และอุปกรณ์ Smart Device อื่น ๆ

สำหรับวัสดุที่ใช้ผลิต SolarGaps นั้น เป็นอะลูมิเนียมที่มีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ ถูกออกแบบให้เข้ากับทุกสภาพอากาศ ปกป้องหน้าต่างได้จากสภาพอากาศที่เลวร้าย อย่างเช่น พายุ และรองรับอุณหภูมิได้สูงสุดถึง 80 องศาเซลเซียส รับประกันคุณภาพยาวนานถึง 25 ปี

โดย SolarGaps เป็นโปรเจ็คระดมเงินทุนบนเว็บไซต์ Kickstarter ราคาเริ่มต้นที่ $390 หรือราว ๆ 13,700 บาท ในปี ค.ศ. 2017

ขอขอบคุณ ที่มา :
วีรศักดิ์ ประสพบุญ https://www.buildernews.in.th/decordesign/18273
kickstarter.com
techcrunch.com

1656 เยียมชมหน้านี้ทั้งหมด 2 ผู้เยี่ยมชมวันนี้