ม.นเรศวรจับมือกรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ

nu01

วิจัยระบบทำความเย็นประเมินผลจุดคุ้มทุน
ศ.ดร.สุจินต์ จินายน อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า มหาวิทยาลัยนเรศวรได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยระดับแนวหน้าของประเทศ โดยมีกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาให้บุคลากรผลิตงานวิจัยสู่ชุมชนให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงและยั่งยืน ตลอดจนการนำไปใช้จริงในเชิงพาณิชย์ โดยวิทยา ลัยพลังงานทดแทน ร่วมกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระ ทรวงพลังงาน ศึกษาศักยภาพการผลิตและการใช้ระบบทำความเย็นด้วยพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์ โดยได้รับงบประมาณ สนับสนุนจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 6,990,000 บาท ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินงานในขั้นตอน ประเมินสมรรถนะของระบบต้นแบบ ระบบทำความเย็นด้วยพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์

ด้าน รศ.ดร.วัฒนพงศ์ รักษ์วิเชียร ผู้อำนวยการวิทยาลัยพลังงานทดแทน ม.นเรศวร กล่าวว่าประเทศไทยมีการใช้ไฟฟ้ารวมมากกว่า 115,000 GWh ต่อปี แยกเป็นการใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 16 ภาคธุรกิจร้อยละ 31 ภาคที่อยู่อาศัยร้อยละ 21 และการใช้ไฟฟ้าในภาคอื่น ๆ อีกร้อยละ 2 โดยที่ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะสูญเสียไปกับเครื่องปรับอากาศคิดเป็นกว่าร้อยละ 50 ดังนั้น หากสามารถใช้งานและผลิตระบบทำความเย็นที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้ก็จะช่วยลดค่าเชื้อเพลิงที่ส่วนใหญ่ต้องนำเข้ามาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับระบบทำความเย็นในแต่ละปีได้อย่างมหาศาล ซึ่งระบบทำความเย็นพลังงานแสงอาทิตย์เป็นการนำความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ได้รับในช่วงกลางวันมาใช้เป็นแหล่งพลังงานเพื่อปรับอากาศในอาคาร ได้นอกจากนี้แล้วยังได้ทำการศึกษาความก้าวหน้าและแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีระบบทำความเย็น ศักยภาพการผลิตและการใช้งานระบบทำความเย็นพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย พัฒนาและจัดทำต้นแบบระบบทำความเย็นด้วยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ซึ่งสามารถใช้ในการสาธิตใช้งาน ทดสอบสมรรถนะการทำงานต่าง ๆ ของตัวระบบฯ ได้อย่างยั่งยืน 

ขณะที่ ผศ.ดร.นิพนธ์ เกตุจ้อย รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยวิทยาลัยพลังงานทดแทน ม.นเรศวร กล่าวเพิ่มเติมถึงระบบต้นแบบระบบปรับอากาศด้วยพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์ที่จะเลือกใช้ในโครงการนี้มีส่วนประกอบหลักคือ ชุดตัวเก็บรังสีดวงอาทิตย์ (Collector field) เครื่องทำความเย็นแบบดูดกลืน (absorption chiller) คอนเดนเซอร์คอยล์ (cooling Tower) ถังเก็บน้ำร้อน (hot water storage tank) ระบบความร้อนเสริม (heater backup) แฟนคอยล์ยูนิตหรืออุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน (fan coil unit/heat exchanger) ปัจจุบันได้มีการสาธิตใช้งานระบบปรับอากาศชนิดนี้อยู่ในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งวิทยาลัยพลังงานทดแทนได้ทำการทดลองติดตั้งระบบต้นแบบระบบปรับอากาศด้วยพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์ให้กับ ศูนย์ฝึกอบรมปฏิบัติการด้านการจัดการพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จังหวัดปทุมธานี ซึ่งอยู่ระหว่างการติดตามผลโดยนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดและบันทึกข้อมูลของต้นแบบระบบทำความเย็นด้วยพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์ มาทำการวิเคราะห์และประเมินผลสมรรถนะของระบบฯ และวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ และความคุ้มทุนของระบบฯ พร้อมเสนอแนวทางการปรับปรุงพัฒนาระบบฯ ให้เหมาะสมหรือดีขึ้น วิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อยของเทคโนโลยีระบบทำความเย็นด้วยพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์ ระบบต้นแบบฯ อย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งนี้จะสามารถช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ปรับสภาวะความชื้นอากาศที่ใช้ในพื้นที่ใช้งานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม อีกทั้งยังเป็นการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นผลให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ลงได้ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอีกทางหนึ่ง

ขณะเดียวกัน ศ.ดร.สุจินต์ กล่าวว่า คณะวิทยาการจัดการและสาร สนเทศศาสตร์ จัดโครงการปฐมนิเทศและอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อปรับพื้นฐานความรู้นิสิต MBA โดยมหาวิทยาลัยมีกระบวนการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ และมีขีดความสามารถตามความต้องการของแหล่งจ้างงานระดับแนวหน้าของประเทศ ได้รับค่าจ้างในอัตราจ้างที่สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย บัณฑิตของมหาวิทยาลัยนเรศวรต้อง เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งครองชีวิต และเก่งพิชิตปัญหาสำหรับหลักสูตร MBA หรือปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ถือได้ว่าเป็นหลักสูตรที่มีผู้กล่าวถึง และมีผู้สนใจเรียนมากที่สุดหลักสูตรหนึ่งของโลก ในฐานะที่เป็นหลักสูตรสายวิชาชีพระดับสูง เพื่อเตรียมความพร้อมให้บุคลากร เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งนักบริหารในอนาคต ภายใต้ความเชื่อถือที่ว่าหลักสูตร MBA เป็นหลักสูตร ที่ตรงกับความต้องการของระบบธุรกิจ ที่ต้องบ่มเพาะบุคลากรในตำแหน่งบริหาร โดยไม่จำกัดว่าอุตสาหกรรมเหล่านั้น เป็นอย่างไรหรืออยู่ในภาคธุรกิจประเภทใด อีกทั้งยังไม่จำกัดว่าบริบทของเศรษฐกิจจะเป็นเช่นใดโดยทางมหาวิทยาลัยได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน มาบรรยายพิเศษในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้ประกอบการมือใหม่กับโอกาสดี ๆ ที่ซ่อนอยู่

ที่มา :
logo

 

[sc:720x90yengo]

2273 เยียมชมหน้านี้ทั้งหมด 1 ผู้เยี่ยมชมวันนี้