นักวิชาการพลังงาน เชื่อผู้บริโภคหันมาติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปมากขึ้น
ในอนาคตเพราะต้นทุนค่าไฟฟ้าถูกลงเรื่อยๆ หนุนเก็บค่าback up
เฉพาะรายใหญ่ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรม ระบุติดโซลาร์รูฟท็อป
มีความคุ้มค่า ลดค่าใช้จ่ายค่าไฟลงถึง1ใน3 เสนอรัฐเปิดเสรี
ควบคู่ระบบกักเก็บพลังงาน ด้านนายกสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
แห่งประเทศไทย แนะรัฐให้ความสำคัญเรื่องการรีไซเคิล
แผงโซลาร์เซลล์หมดอายุ ในอนาคต
ในอนาคตเพราะต้นทุนค่าไฟฟ้าถูกลงเรื่อยๆ หนุนเก็บค่าback up
เฉพาะรายใหญ่ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรม ระบุติดโซลาร์รูฟท็อป
มีความคุ้มค่า ลดค่าใช้จ่ายค่าไฟลงถึง1ใน3 เสนอรัฐเปิดเสรี
ควบคู่ระบบกักเก็บพลังงาน ด้านนายกสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
แห่งประเทศไทย แนะรัฐให้ความสำคัญเรื่องการรีไซเคิล
แผงโซลาร์เซลล์หมดอายุ ในอนาคต
เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2560 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ได้จัดเสวนาเรื่อง
“โซลาร์รูฟท็อป จะพลิกโฉมระบบไฟฟ้าอย่างไร”
ณ อาคารวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ
ได้จัดเสวนาเรื่อง
“โซลาร์รูฟท็อป จะพลิกโฉมระบบไฟฟ้าอย่างไร”
ณ อาคารวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ
ดร.บุญรอด สัจจกุลนุกิจ นักวิชาการพลังงานอิสระ กล่าวว่า โดยส่วนตัวเห็นว่าการที่ภาครัฐจะเรียกเก็บค่าสำรองไฟฟ้า(backup rate ) กับผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรายใหญ่ที่มาขอไฟฟ้าสำรองจากการไฟฟ้า แต่ไม่เรียกเก็บกับกลุ่มผู้ผลิตรายเล็กที่ผลิตต่ำกว่า 10 กิโลวัตต์ เป็นเรื่องที่ดี ถือว่ารัฐเดินมาถูกทาง เพราะการเรียกเก็บค่า back up จะช่วยลดภาระผู้ใช้ไฟฟ้าโดยรวมได้ในอนาคต
โดยแนวโน้มต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อปที่ลดต่ำลงเรื่อยๆ จะทำให้ผู้บริโภค จะหันมาติดตั้ง โซลาร์รูฟท็อปเพื่อผลิตไฟใช้เอง เพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันการติดโซลาร์รูฟท็อปในประเทศไทยเป็นแบบกระจายตัว ดังนั้นในช่วงเวลาที่แดดหายไปไม่ได้หมายความว่า การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์โซลาร์รูฟท็อปจะหายไปพร้อมกันทั้งประเทศ แต่ในทางกลับกันกลุ่มบ้านเรือนที่ติดตั้งโซลาร์กลับช่วยให้เกิดการใช้ไฟฟ้าในระบบน้อยลง ซึ่งเป็นไปตามที่รัฐบาลต้องการ ดังนั้นจึงยังไม่ควรพิจารณาเก็บค่า back up กับผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อยในเวลานี้
ส่วนการเปิดโซลาร์รูฟท็อปเสรีนั้น เห็นว่าภาครัฐควรเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากประชาชนที่ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเสรี โดยรับซื้อในอัตราใกล้เคียงต้นทุนที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ขายให้กับการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(PEA) คือประมาณกว่า 2 บาทต่อหน่วย ซึ่งเชื่อว่าเป็นอัตราที่จะไม่กระทบต่อภาระค่าไฟฟ้า และที่สำคัญภาครัฐจะต้องควบคุมการติดตั้งให้กระจายตัวทั่วประเทศ เพื่อไม่ให้กระทบต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้า
นายสุวิทย์ ธรณินทร์พานิช เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า จากผลการศึกษาของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ระบุว่าผลกระทบจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา(โซลาร์รูฟท็อป)จะเกิดในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ดังนั้นหากรัฐออกกฎเกณฑ์การเรียกเก็บค่าสำรองไฟฟ้า(back up) รวมถึงกฎเกณฑ์จัดเก็บอัตราค่าบริการสายส่งและจำหน่าย(Wheeling Charges) ในเร็วๆนี้ จะกลายเป็นอุปสรรคต่อระบบการเกิดของโซลาร์รูฟท็อปในประเทศไทยได้
นายสุวิทย์ กล่าวว่า ปัจจุบัน ธุรกิจโซลาร์เซลล์กำไรไม่ได้ดีเหมือนสมัยก่อน IRR อยู่ที่ 7-8% ซึ่งหากถูกเก็บ Backup Rate และจัดเก็บอัตราค่าบริการสายส่งและจำหน่าย(Wheeling Charges) อีก จะฉุดให้ IRR เหลือ 3% ซึ่งทำให้ธุรกิจโซลาร์เซลล์ไม่เกิดขึ้น
โดยเอกชนต้องการให้รัฐเปิดโซลาร์รูฟท็อปเสรีอย่างแท้จริง โดยภาครัฐควรปรับกฎระเบียบทั้งการรับซื้อไฟฟ้า การเชื่อมต่อไฟฟ้าให้เกิดเสรีมากขึ้น อีกทั้งต้องไม่กำหนดเสรีเฉพาะโซลาร์รูฟท็อปเพียงอย่างเดียว แต่ควรจะส่งเสริมการติดตั้งในพื้นที่อื่นที่ไม่ใช่หลังคาได้ เช่น บนผิวน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ควรต้องมีการส่งเสริมการลงทุนติดตั้งโซลาร์ เซลล์ ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage )เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าโดยรวม
เขากล่าวว่า ปัจจุบันการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปในภาคอุตสาหกรรม มีความคุ้มค่าและช่วยลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าลงได้ 1 ใน 3 ของต่อโรงงาน 1 แห่ง ทำให้มองเห็นความนิยมของติดตั้งมากขึ้นในอนาคต และลดการซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าลง ซึ่งจะส่งผลกระทบรายได้ของการไฟฟ้า และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภาครัฐมีแนวคิดจะเก็บค่า Backup
ด้าน ดร.ประเสริฐ ตปนียางกูร นายกสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเปิดโซลาร์เสรีในไทย จำเป็นที่ ทั้งสามการไฟฟ้าต้องเตรียมพร้อมในด้านสายส่งไฟฟ้าอัจฉริยะ(สมาร์ทกริด)ก่อน และมีแผนที่ชัดเจนที่แจ้งให้เอกชนได้รับทราบ เพื่อเตรียมพร้อมก้าวไปสู่โซลาร์เสรีพร้อมกัน อย่างไรก็ตามเห็นว่าพลังงานทดแทนจะเป็นพลังงานหลักในอนาคตได้จะต้องมีความพร้อมด้านแบตเตอรี่มารองรับก่อน
นอกจากนี้ยังเห็นว่า ในอนาคตรัฐควรจะต้องหันมาเน้นเรื่องการรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุแล้ว เพื่อให้นำกลับมาใช้ใหม่ป้องกันปัญหามลภาวะ
ที่มา :
3249 เยียมชมหน้านี้ทั้งหมด 2 ผู้เยี่ยมชมวันนี้