ในปัจจุบันมีอุปกรณ์สามประเภทที่ใช้สำหรับ การวัดความเข้มแสงอาทิตย์
1. Heliograph เป็นอุปกรณ์ที่วัดชั่วโมงแสงอาทิตย์ โดยอุปกรณ์ประกอบด้วยลูกบอลคริสตัลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร และหลังลูกบอลคริสตัลจะเป็นกระดาษที่จะเกิดรอยไหม้ เมือลูกบอลได้รับแสงอาทิตย์
2. Pyranometer เป็นอุปกรณ์ที่จะวัดการแผ่รังสีอาทิตย์ บนพื้นที่ราบ ในช่วงสเปกตรัม 0.3 μm to 3 μm ไพรานอมิเตอร์จะวัดรังสีอาทิตย์จากทุกทิศทาง เมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบที่ thermopile ความร้อนที่ได้จะถูกเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าและแปลงค่าผ่านสมการ (รวมค่า correction ของอุปกรณ์) ให้เป็นหน่วยวัตต์ต่อตารางเมตร ซึ่งอุปกรณ์นี้ใช้สำหรับการวัดรังสีรวม และรังสีกระจาย โดยเฉพาะการใช้งานในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
3. Pyrheliometer เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดความเข้มแสงอาทิตย์ แบบรังสีตรง โดยอุปกรณ์นี้จะมีระบบติดตามดวงอาทิตย์ เมื่อแสงอาทิตย์ส่งผ่านช่องแสง themopile จะทำหน้าที่เปลี่ยนความร้อนที่ได้รับจากแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า สัญญาณที่ได้จะถูกเปลี่ยนจากสูตรให้เป็นค่าการวัดในหน่วยวัตต์ต่อตารางเมตร
ข้อแตกต่างของความเข้มแสงอาทิตย์กับพลังงานแสงอาทิตย์คือ ความเข้มแสงอาทิตย์คือปริมาณแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบต่อพื้นที่นั้นๆ ณ วินาทีที่ทำการวัด แต่พลังงานแสงอาทิตย์ จะเป็นการรวมค่าปริมาณแสงอาทิตย์ตลอดช่วงเวลาที่สนใจเช่น ต่อวัน หรือต่อปี โดยจะมีหน่วยเป็น กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อวัน (หรือต่อปี)
ที่มาข่าว : สำนักพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ พพ. (Bureau of Solar Energy Development,DEDE)
ที่มาข้อมูล :
1. http://www.electromechanical-engineering.tk/…/how-to-measur…
2. http://www.cssckmutt.in.th/…/cssc…/doc/Designer_CH1toCH5.pdf
[sc:720x90yengo]