โรงงานโซลาร์ฯเฮรับ800MWคลังจี้ใช้แผงในประเทศ

ผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ 4 รายมีเฮ รับเละ โครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
สหกรณ์การเกษตร-หน่วย งานราชการ 800 เมกะวัตต์
คาดเงินสะพัด 48,000 ล้านบาท หลังกระทรวงการคลังฟันธงเข้าข่ายระเบียบ
จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ บังคับต้องซื้อแผงที่ผลิตในประเทศก่อน

1366606618-solar-o

แหล่งข่าวจากวงการ ผู้ผลิตแผงพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์รายใหญ่ทำหนังสือไปถึงสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง เพื่อสอบถามถึงความชัดเจนของโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จาก สหกรณ์การเกษตรและหน่วยงานราชการ รวม 800 เมกะวัตต์ ที่กระทรวงพลังงานเตรียมประกาศรับซื้อไฟฟ้าว่าโครงการดังกล่าวเป็นการดำเนิน การโดยภาครัฐ ฉะนั้นจะต้องปฏิบัติตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้าง โดยเฉพาะจะต้องจัดซื้อแผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตจากผู้ประกอบการภายในประเทศก่อน ใช่หรือไม่ ซึ่งสำนักงบประมาณยืนยันว่าเข้าข่ายระเบียบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐชัดเจน 

ฉะนั้น ในร่างระเบียบรับซื้อไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างดำเนินการของคณะกรรมการกำกับกิจการ พลังงาน (กกพ.) จะต้องระบุเงื่อนไขดังกล่าวด้วย เมื่อประเมินศักยภาพผู้ผลิตในประเทศรวม 4 ราย คือ 1) บริษัท เอกรัฐ โซลาร์ จำกัด 2) บริษัท โซลาร์ตรอนจำกัด (มหาชน) 3) บริษัท ฟู โซลาร์ และ 4) บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ จำกัด อาจจะมีกำลังผลิต “ไม่พอ” รองรับกำลังผลิต 800 เมกะวัตต์ ฉะนั้น “ส่วนเกิน”จากกำลังผลิตในประเทศ ให้นำเข้า

“ที่ผ่านมาแม้ว่าก.พลังงานจะส่งเสริมพลังงานทดแทน แต่ไม่ส่งเสริมการใช้แผงที่ผลิตจากโรงงานในประเทศ แผงที่ใช้ส่วนใหญ่จึงนำเข้าจากจีน ทำให้โรงงานในไทยบางรายขาดทุน”

ผู้ ผลิตในไทยส่วนใหญ่เทคโนโลยีผ่านมาตรฐาน ม.อ.ก.1843 ของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม มีการทดสอบ บางรายส่งออกเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ แต่คนในประเทศไม่ใช้ ในขณะที่แผงจากจีนไม่ต้องทดสอบ ไม่ได้มาตรฐาน หากจะส่งเสริมก็ควรให้ครอบคลุมทั้งหมด

แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนแผงพลังงานแสงอาทิตย์ระหว่างผู้ผลิตในประเทศกับนำ เข้าจากจีน ต้องยอมรับว่านำเข้าถูกกว่า ต้นทุนอยู่ที่ 40-50 ล้านบาท/เมกะวัตต์ ในขณะที่ผลิตในประเทศมีต้นทุน 60 ล้านบาท/เมกะวัตต์ แต่ที่มีความแตกต่างกันคือคุณภาพและการบริการหลังการขาย รวมถึงก่อนหน้านี้มีการสุ่มตรวจคุณภาพแผงจากจีน พบว่าไม่ได้คุณภาพตามที่กำหนด เช่น แจ้งว่ามีกำลังผลิตที่ 2 เมกะวัตต์ แต่กำลังผลิตที่ได้จริงเพียง 1 เมกะวัตต์ เป็นต้น เมื่อพิจารณาจากข้อมูลดังกล่าวแล้วนำมาประเมินอายุการรับซื้อไฟฟ้าในโครงการ ที่ 25 ปี แผงโซลาร์เซลล์ที่นำเข้าจากจีนอาจมีปัญหาใช้งานเมื่อติดตั้งไปเพียง 2 ปี 

อย่าง ไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ กกพ.ได้หารือกับผู้ผลิตถึงร่างระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จากสหกรณ์การเกษตรและหน่วยงานราชการ โดยผู้ผลิตต้องการให้สร้างความชัดเจนในหลายประเด็น เช่น “ใคร” จะเป็นผู้ลงทุน และในกรณีที่หน่วยงานรัฐลงทุนจะเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนได้หรือ ไม่ ในฐานะที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและมีเงินลงทุน ซึ่งเร็ว ๆ นี้ กกพ.เตรียมประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการดังกล่าว เพื่อให้ภาคเอกชนที่สนใจยื่นขอผลิตไฟฟ้าภายในปีนี้ และเริ่มผลิตไฟฟ้าเข้าระบบให้ทันกำหนดช่วงปลายปี 2558 นี้

รายงาน ข่าวเพิ่มเติมว่า การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 800 เมกะวัตต์ดังกล่าว คาดว่าจะเกิดการลงทุนประมาณ 48,000 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการลงทุนในประเทศได้ และช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ที่ลงทุนสร้างโรงงานผลิต แต่ไม่มีคำสั่งซื้อ บางรายเดินเครื่องผลิตเพียง 10% เท่านั้น

ข่าว : มิสเตอร์โซล่าเซลล์
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

[sc:720x90yengo]

2147 เยียมชมหน้านี้ทั้งหมด 1 ผู้เยี่ยมชมวันนี้