สนพ.หนุนสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน จัดสัมมนาและศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบโซลาร์เซลล์ จ.อุบลราชธานี

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดสัมมนาและศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 12 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเผยแพร่สร้างความรู้ความเข้าใจนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ซึ่งจะมีส่วนช่วยเสริมความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ และยังมีส่วนสนับสนุนการลดภาวะโลกร้อนซึ่งเป็นกระแสระดับนานาชาติ

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า สนพ.ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน จึงได้จัดสัมมนาและศึกษาดูงานในพื้นที่ต้นแบบการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ขึ้น โดยจะจัดขึ้นใน 12 จังหวัดทั่วประเทศช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน 2558 เพื่อเป็นการเผยแพร่สร้างความรู้ความเข้าใจต่อนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ไปสู่ประชาชนทั้งส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น

111

10

22

ปัจจุบันโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้รับความสนใจอย่างมาก ถือเป็นพลังงานทางเลือกที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ถึงแม้ว่ายังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง เนื่องจากปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้อาจไม่คงที่สม่ำเสมอ และอุปกรณ์ยังมีราคาแพงอยู่ แต่พลังงานแสงอาทิตย์ก็มีจุดเด่นที่สามารถใช้ได้ไม่มีวันหมด อีกทั้งยังเป็นพลังงานสะอาด ช่วยลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจการพลังงานในภาพรวมได้ด้วย

32

71 41 51 61

สำหรับนโยบายในการส่งเสริมโครงการผลิตไฟฟ้า
จากพลังงานแสงอาทิตย์แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

1) แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Farm) ซึ่งมีเป้าหมายการผลิตโดยรับซื้อไฟฟ้า เข้าระบบตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี (AEDP) รวม 2,800 เมกะวัตต์

2) แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop) เป้าหมายการผลิต 200 เมกะวัตต์

3) แบบติดตั้งบนพื้นดินสำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์การเกษตร 800 เมกะวัตต์

ทั้งนี้ หากสามารถผลิตได้ตามเป้าหมายจะทำให้มีไฟฟ้าเข้าระบบรวม 3,800 เมกะวัตต์ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านการจัดหาพลังงานให้กับประเทศ เพราะปัจจุบันไทยยังพึ่งพาเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก และนับวันทรัพยากรก๊าซธรรมชาตินี้จะยิ่งร่อยหรอลงไป ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบไฟฟ้าของประเทศ

สำหรับการจัดสัมมนาและศึกษาดูงานในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากจะเป็นเวทีสร้างความเข้าใจต่อนโยบายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว ยังมีต้นแบบของผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานอาทิตย์ซึ่งเป็นภาคเอกชนมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ที่จะมุ่งสู่ความสำเร็จว่าจะต้องมีปัจจัยสำคัญอะไรบ้าง รวมทั้งอุปสรรคต่างๆ ที่ต้องเตรียมวางแผนรองรับ ตลอดจนยังได้ลงพื้นที่ศึกษาจากสถานที่จริงโดย สนพ.จะตระเวณจัดงานขึ้น 12 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม ปราจีนบุรี นครราชสีมา ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา อุดรธานี ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ลำปาง ลำพูน เพชรบูรณ์ และนครสวรรค์ โดยจะมีผู้เข้าร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งประชาชน ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ

คาดว่า ผลจากการจัดสัมมนาและศึกษาดูงานที่จะมีขึ้นตลอดช่วง 2 เดือนนี้ จะช่วยสร้างให้เกิดการตระหนักรู้ของทุกภาคส่วน เกิดความรับผิดชอบในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า ซึ่งในระยะยาวความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้น จะมีส่วนช่วยสร้างความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนเพื่อช่วยเสริมความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศได้อย่างยั่งยืนต่อไป.

อุบลราชธานี : โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์เขื่อนสิรินธร

8

121

สถานที่ติดตั้ง หมู่ที่ 11 ตำบลนิคมลำโดมน้อย อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้พื้นที่ของเขื่อนสิรินธร เนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ ผู้ดำเนินการโครงการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โครงการนี้ใช้งบประมาณของ (กฟผ.) ทั้งหมด 222 ล้านบาท และโครงการนี้ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2550

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองนโยบาลรัฐบาล เรื่องการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน โดยการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า ทำให้มีกำลังผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในระบบการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ช่วยอนุรักษ์พลังงานและลดปัญหาภาวะโลกร้อน

โครงการโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์เขื่อนสิรินธร เป็นระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้เซลล์ (Solar Cell) เป็นอุปกรณ์ในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า และจ่ายไฟฟ้าที่ได้เชื่อมโยงเข้ากับระบบจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ลักษณะของโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แห่งนี้ประกอบด้วย แผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดกำลังผลิตติดตั้งทั้งหมด 1,012 เมกะวัตต์ ติดตั้ง 2 ระบบ คือ ระบบที่ติดตั้งคงที่ ขนาดกำลังผลิตติดตั้งรวม  4.0 กิโลวัตต์ และระบบติดตามดวงอาทิตย์แบบถ่วงผลิตติดตั้งรวม 1,008 กิโลวัตต์ ซึ่งระบบแผงเซลล์แสงอาทิตย์สามารถเคลื่อนที่ตามดวงอาทิต์ได้ตั้งแต่เช้าจนถึงเย็น เซลล์แสงอาทิตย์ที่นำมาติดตั้งทำจากสารชิลิคอน 2 ชนิด คือ ชนิดผลึกรวม (Poly Crystalline) ขนาดกำลังผลิตแผงติดตั้ง 200 วัตต์ ติดตั้งแบบคงที่ จำนวน 1 ชุด รวมกำลังผลิตติดตั้ง 2.0 กิโลวัตต์ ติดตั้งบนระบบติดตามดวงอาทิตย์แบบถ่วงน้ำหนักจำนวน 247 ชุด ชุดละ 3.6 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิตติดตั้ง 889.2 กิโลวัตต์ และชนิดไร้ผลึก (Amorphous) ขนาดกำลังผลิตแผง 40 วัตต์ ติดตั้งแบบคงที่ จำนวน 110 ชุด ชุดละ 1.08 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิตติดตั้ง 118.8 กิโลวัตต์

ประโยชน์ของโครงการโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แห่งนี้ คือ

– ผลิตไฟฟ้าได้ปริมาณ 1.45 ล้านหน่วยต่อปี

– ทดแทนน้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้าได้ 348,000 ลิตรต่อปี

– ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ลงได้ 851.1 ตันต่อปี

– ตอบสนองนโยบายภาครัฐ โดยนำพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่ในประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

– เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านการพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดอุบลราชธานี

แนะนำข่าว : มิสเตอร์โซล่าเซลล์
ที่มา : นสพ.โอเคอีสาน

[sc:720x90yengo]

2269 เยียมชมหน้านี้ทั้งหมด 2 ผู้เยี่ยมชมวันนี้