วงเสวนา วิศวฯ นักวิชาการพลังงาน เชื่อคนหันมาติดโซลาร์รูฟท็อปมากขึ้นเพราะต้นทุนถูกลง

นักวิชาการพลังงาน เชื่อผู้บริโภคหันมาติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปมากขึ้น
ในอนาคตเพราะต้นทุนค่าไฟฟ้าถูกลงเรื่อยๆ  หนุนเก็บค่าback up
เฉพาะรายใหญ่  ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรม  ระบุติดโซลาร์รูฟท็อป
มีความคุ้มค่า ลดค่าใช้จ่ายค่าไฟลงถึง1ใน3  เสนอรัฐเปิดเสรี
ควบคู่ระบบกักเก็บพลังงาน  ด้านนายกสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
แห่งประเทศไทย แนะรัฐให้ความสำคัญเรื่องการรีไซเคิล
แผงโซลาร์เซลล์หมดอายุ ในอนาคต
 
เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2560 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ได้จัดเสวนาเรื่อง
“โซลาร์รูฟท็อป จะพลิกโฉมระบบไฟฟ้าอย่างไร”
ณ อาคารวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ 
DrBoonrod300517B
 
ดร.บุญรอด สัจจกุลนุกิจ นักวิชาการพลังงานอิสระ กล่าวว่า โดยส่วนตัวเห็นว่าการที่ภาครัฐจะเรียกเก็บค่าสำรองไฟฟ้า(backup rate ) กับผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรายใหญ่ที่มาขอไฟฟ้าสำรองจากการไฟฟ้า แต่ไม่เรียกเก็บกับกลุ่มผู้ผลิตรายเล็กที่ผลิตต่ำกว่า 10 กิโลวัตต์ เป็นเรื่องที่ดี  ถือว่ารัฐเดินมาถูกทาง เพราะการเรียกเก็บค่า back up  จะช่วยลดภาระผู้ใช้ไฟฟ้าโดยรวมได้ในอนาคต
 
โดยแนวโน้มต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อปที่ลดต่ำลงเรื่อยๆ จะทำให้ผู้บริโภค จะหันมาติดตั้ง โซลาร์รูฟท็อปเพื่อผลิตไฟใช้เอง เพิ่มมากขึ้น   ซึ่งปัจจุบันการติดโซลาร์รูฟท็อปในประเทศไทยเป็นแบบกระจายตัว ดังนั้นในช่วงเวลาที่แดดหายไปไม่ได้หมายความว่า การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์โซลาร์รูฟท็อปจะหายไปพร้อมกันทั้งประเทศ  แต่ในทางกลับกันกลุ่มบ้านเรือนที่ติดตั้งโซลาร์กลับช่วยให้เกิดการใช้ไฟฟ้าในระบบน้อยลง ซึ่งเป็นไปตามที่รัฐบาลต้องการ ดังนั้นจึงยังไม่ควรพิจารณาเก็บค่า back up กับผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อยในเวลานี้
 
ส่วนการเปิดโซลาร์รูฟท็อปเสรีนั้น เห็นว่าภาครัฐควรเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากประชาชนที่ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเสรี โดยรับซื้อในอัตราใกล้เคียงต้นทุนที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ขายให้กับการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(PEA) คือประมาณกว่า  2 บาทต่อหน่วย ซึ่งเชื่อว่าเป็นอัตราที่จะไม่กระทบต่อภาระค่าไฟฟ้า  และที่สำคัญภาครัฐจะต้องควบคุมการติดตั้งให้กระจายตัวทั่วประเทศ เพื่อไม่ให้กระทบต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้า 
 
Board2283
นายสุวิทย์ ธรณินทร์พานิช เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า จากผลการศึกษาของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ระบุว่าผลกระทบจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา(โซลาร์รูฟท็อป)จะเกิดในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ดังนั้นหากรัฐออกกฎเกณฑ์การเรียกเก็บค่าสำรองไฟฟ้า(back up) รวมถึงกฎเกณฑ์จัดเก็บอัตราค่าบริการสายส่งและจำหน่าย(Wheeling Charges) ในเร็วๆนี้ จะกลายเป็นอุปสรรคต่อระบบการเกิดของโซลาร์รูฟท็อปในประเทศไทยได้ 
 
นายสุวิทย์ กล่าวว่า ปัจจุบัน ธุรกิจโซลาร์เซลล์กำไรไม่ได้ดีเหมือนสมัยก่อน IRR อยู่ที่ 7-8% ซึ่งหากถูกเก็บ Backup Rate และจัดเก็บอัตราค่าบริการสายส่งและจำหน่าย(Wheeling Charges) อีก จะฉุดให้ IRR เหลือ 3% ซึ่งทำให้ธุรกิจโซลาร์เซลล์ไม่เกิดขึ้น
 
โดยเอกชนต้องการให้รัฐเปิดโซลาร์รูฟท็อปเสรีอย่างแท้จริง โดยภาครัฐควรปรับกฎระเบียบทั้งการรับซื้อไฟฟ้า การเชื่อมต่อไฟฟ้าให้เกิดเสรีมากขึ้น  อีกทั้งต้องไม่กำหนดเสรีเฉพาะโซลาร์รูฟท็อปเพียงอย่างเดียว  แต่ควรจะส่งเสริมการติดตั้งในพื้นที่อื่นที่ไม่ใช่หลังคาได้ เช่น บนผิวน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ควรต้องมีการส่งเสริมการลงทุนติดตั้งโซลาร์ เซลล์ ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage )เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าโดยรวม 
 
เขากล่าวว่า  ปัจจุบันการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปในภาคอุตสาหกรรม มีความคุ้มค่าและช่วยลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าลงได้ 1 ใน 3 ของต่อโรงงาน 1 แห่ง ทำให้มองเห็นความนิยมของติดตั้งมากขึ้นในอนาคต  และลดการซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าลง ซึ่งจะส่งผลกระทบรายได้ของการไฟฟ้า และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภาครัฐมีแนวคิดจะเก็บค่า Backup
 
1prasert
ด้าน ดร.ประเสริฐ ตปนียางกูร นายกสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเปิดโซลาร์เสรีในไทย จำเป็นที่ ทั้งสามการไฟฟ้าต้องเตรียมพร้อมในด้านสายส่งไฟฟ้าอัจฉริยะ(สมาร์ทกริด)ก่อน และมีแผนที่ชัดเจนที่แจ้งให้เอกชนได้รับทราบ เพื่อเตรียมพร้อมก้าวไปสู่โซลาร์เสรีพร้อมกัน อย่างไรก็ตามเห็นว่าพลังงานทดแทนจะเป็นพลังงานหลักในอนาคตได้จะต้องมีความพร้อมด้านแบตเตอรี่มารองรับก่อน 
 
นอกจากนี้ยังเห็นว่า ในอนาคตรัฐควรจะต้องหันมาเน้นเรื่องการรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุแล้ว เพื่อให้นำกลับมาใช้ใหม่ป้องกันปัญหามลภาวะ   
 
ที่มา : 
 
3137 เยียมชมหน้านี้ทั้งหมด 1 ผู้เยี่ยมชมวันนี้