สู่การเปิดเสรีโซลาร์รูฟท็อป : เราจะอยู่กับ disruptive technology อย่างไร

ด้วยสถานการณ์แนวโน้มต้นทุนของแผงโซลาร์ที่ลดต่ำลงมาก และประเทศไทยมีความเข้มแสงสูง
ทำให้การติดตั้งแผงโซลาร์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เอง (โซลาร์รูฟท็อป) ในประเทศไทย
เติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแนวทางช่วยลดค่าไฟแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าและสอดคล้องกับ
ความพยายามลดก๊าซเรือนกระจกในระดับนานาชาติ แม้ว่าการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป
จะช่วยลดค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านเรือนและอาคาร ลดความต้องการไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล
และลดก๊าซเรือนกระจก แต่การผลิตไฟฟ้าใช้เองจากโซลาร์รูฟท็อปก็อาจพลิกโฉม
รูปแบบธุรกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้าในอนาคต อันจะส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ
ต่อการไฟฟ้าและผู้ใช้ไฟฟ้าทุกคนด้วยเช่นกัน โดยประเด็นหนึ่งที่อยู่ในความสนใจคือ
ความไม่แน่นอนของแสงแดด ทำผู้ดูแลระบบไฟฟ้าต้องเตรียมระบบผลิต/สำรองไฟฟ้า
และสายส่งให้มีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น และข้อกังวลเรื่องต้นทุนการดูแลระบบสายส่ง
สายจำหน่ายที่อาจจะไม่ลดลงในขณะที่รายได้จากการขายไฟฟ้าลดลงเพราะ
การผลิตไฟฟ้าใช้เอง

ทีดีอาร์ไอ จึงจัดงานเสวนา สู่การเปิดเสรีโซลาร์รูฟท็อป : เราจะอยู่กับ disruptive technology อย่างไร
(ในวันอังคารที่ 11 ก.ค. 2560) เพื่อชวนสังคม ผู้กำหนดนโยบาย และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ได้ร่วมแลกเปลี่ยนและทำความเข้าใจถึงประโยชน์และต้นทุนของโซลาร์รูฟท็อป รวมไปถึง
แนวทางการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านนโยบาย โครงสร้างพื้นฐาน
และรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะเกิดจาก disruptive technology ได้อย่างทันท่วงที
นำเสนอการศึกษา เรื่อง “โซลาร์รูฟท็อปกับการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจไฟฟ้า”
โดย ดร.วิชสิณี วิบุลผลประเสริฐ นักวิชาการทีดีอาร์ไอ เสวนา
“เปิดเสรี หรือล้อมกรอบ โซลาร์รูฟท็อป: เราจะอยู่กับ disruptive technology อย่างไร?”

 

ผู้ร่วมเสวนา
1) คุณวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน
2) รศ.ดร.กุลยศ อุดมวงศ์เสรี ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาฯ
3) คุณสุวิทย์ ธรณินทร์พานิช เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
4) ผศ. ดร. เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

ที่มา : tdritv

4477 เยียมชมหน้านี้ทั้งหมด 3 ผู้เยี่ยมชมวันนี้