รู้จักเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์

พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานสะอาด และสามารถเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าได้โดยตรง
จึงน่าสนใจที่เราจะนำพลังงานฟรี ๆ ตัวนี้มาใช้แทนเชื้อเพลิงชนิดอื่นที่นับวันก็ใกล้จะหมดลงทุกที

การผลิตน้ำร้อนจากไฟฟ้านั้น เราต้องสิ้นเปลืองพลังงานเชื้อเพลิงรวมถึงเสียค่าไฟฟ้า
ตลอดอายุการใช้งาน แต่หากลงทุนติดตั้งระบบผลิตน้ำร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์
เพียงครั้งเดียว ก็จะสามารถใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

เนื่องจากปัจจุบันมีกิจการหลายประเภทที่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อน เช่น โรงพยาบาล โรงแรม
โรงงาน ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการผลิตน้ำร้อน
แค่ในอุตสาหกรรมโรมแรมเพียงอย่างเดียวก็พบว่ามีการใช้น้ำร้อนถึง 1.3 ล้านลิตรต่อวัน

solar_system

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) กระทรวงพลังงาน จึงสนับสนุน
ให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจต่าง ๆ ติดตั้ง ระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์
ระบบผสมผสาน
 คือใช้ทั้ง พลังงานแสงอาทิตย์ และ ความร้อนเหลือทิ้ง (waste-heat)
เช่น ความร้อนเหลือทิ้งจากเครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความเย็น เตาเผา หม้อไอน้ำ
ทดแทนเครื่องทำน้ำร้อนจากไฟฟ้าทั่วไป

โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนจะให้การสนับสนุนการลงทุนระบบผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์
ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 40 ตารางเมตรของพื้นที่รับแสง และขั้นสูงไม่เกิน 500 ตารางเมตร
ของพื้นที่รับแสง หรือไม่เกิน 2,250,000 บาทต่อแห่ง

หลักการทำงานของเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์นั้น ใช้หลักการทางธรรมชาติ
ที่เรียกว่า “Thermosyphon” คือ น้ำร้อนจะลอยขึ้นในขณะที่น้ำเย็นจะไหลลง

111

client_site_images_ori_03012010152813 spd_20090602134542_b

Thermosiphon-system 10380201_0

1290663600

น้ำเย็นในส่วนล่างของถังเก็บน้ำจะไหลลงสู่ส่วนล่างของแผงรับแสงอาทิตย์(Solar Collector)
เมื่อได้รับความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบกับแผง ตัวแผงก็จะแปลง
และเก็บพลังงานความร้อน น้ำเย็นจึงกลายเป็นน้ำร้อนที่อุณหภูมิประมาณ
40-70 องศาเซลเซียส แล้วลอยตัวขึ้นไปตามท่อเข้าสู่ส่วนบนของถังเก็บน้ำร้อน

ในปี 2551 โครงการส่งเสริมการใช้น้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสาน
นี้ นับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี มีสถานประกอบการเข้าร่วม 20 ราย คิดเป็นระบบ
ที่ติดตั้งได้ประมาณ 5,000 ตารางเมตร ช่วยชาติประหยัดค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้า
ถึง 24.5 ล้านบาท หรือเทียบเท่ากับการทดแทนน้ำมันได้ 700 ตันต่อปี 

ในขณะนี้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ จึงกำลังเตรียมทำเรื่องของบประมาณจาก
กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน อีกประมาณ 40 ล้านบาท เพื่อใช้
สนับสนุนสำหรับผู้ประกอบการที่จะขอรับการติดตั้งในปีหน้า

โดยตั้งเป้าว่า ะติดตั้งระบบดังกล่าวให้ได้มากกว่า 40,000 ตารางเมตร ซึ่งหาก
ทำได้จริงจะช่วยประหยัดได้ถึง 175 ล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว

ปัจจุบันความนิยมในการใช้เครื่องทำน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไปอย่าง
แพร่หลาย บางประเทศ เช่น จีน อิสราเอล แคลิฟอร์เนีย และออสเตรเลีย ถึงกับมี
กฎหมายบังคับให้บ้านที่สร้างใหม่ทุกหลังต้องติดระบบทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ด้วย

ส่วนสาเหตุที่ยังไม่เป็นที่นิยมในไทยนั้น เนื่องจากการติดตั้งระบบยังมีราคาแพงอยู่
คือ ประมาณ 30,000-40,000 บาท สำหรับขนาด 1 ตารางเมตร ที่ใช้ติดตั้งในบ้าน 


ทางกรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ จึงกำลังเร่งพัฒนาระบบดังกล่าวให้มีต้นทุนต่ำลงมา
อยู่ที่ 2,500-3,000 บาท และหลังจากปี 2554 ได้มีการกำหนดบังคับให้อาคารที่
ก่อสร้างใหม่ต้องใช้พลังงานทดแทนอย่างน้อย 5% ของการใช้พลังงานทั้งหมด

ไหน ๆ เมืองไทยของเราก็ได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์สูงเกือบตลอดทั้งปีแล้ว
เอาพลังงานได้เปล่าตรงนี้มาใช้ แทนการใช้เชื้อเพลิงอื่น ๆ นอกจากจะช่วย
ประหยัดค่าไฟฟ้าและลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศแล้ว ยังไม่ก่อให้เกิด
มลภาวะเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

 

ที่มา : กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

nlogot

[sc:720x90yengo]

10544 เยียมชมหน้านี้ทั้งหมด 2 ผู้เยี่ยมชมวันนี้